จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

ขับเคลื่อนโดย Blogger.

ผู้ติดตาม

Blogger templates

Popular Posts

Popular Posts

วันพฤหัสบดีที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ความรู้เรื่องการใช้สบู่อาบน้ำ

ความรู้เรื่องการใช้สบู่อาบน้ำ


          ประเทศไทยเป็นเมืองร้อนหลายคนอาบน้ำวันละมากกว่า 1 ครั้ง สมัยก่อนมีสบู่ก้อนแต่เพียงอย่างเดียว สมัยนี้มีสบู่นานาชนิด มีปัญหาที่ต้องถามกันว่า สบู่เหล่านี้มีดีมากดีน้อย เปรียบเทียบกันอย่างไร
ความรู้จากวารสารสนองโอฐสภากาชาดไทย ISSN 0125-5851 ให้ความรู้ในเรื่องนี้ไว้ดังนี้


         การอาบน้ำทำความสะอาดผิวหนังเป็นกิจวัตรที่ทุกคนชื่นชอบ เพราะนอกจากจะช่วยขจัดคราบสกปรกของเหงื่อไคล ไขมันเคลือบผิว เชื้อจุลชีพและฝุ่นที่เกาะหนังขี้ไคล การอาบล้างผิวยังช่วยผ่อนคลายความร้อนและความเครียดได้อีกด้วย หลายคนมีความสุขกับการอาบน้ำ บางคนตกแต่งห้องน้ำอย่างหรูหรา สวยงาม และใช้เวลาในการอาบน้ำนานเป็นพิเศษ จริง ๆ แล้วธรรมชาติของผิวหนังจะมีขบวนการทำความสะอาดแบบอัตโนมัติ โดยการผลัดหนังขี้ไคลออกตลอดเวลา การหลุดร่วงของหนังขี้ไคลจะช่วยกำจัดคราบสกปรกไปในตัว ถ้าเป็นผิวแห้งลื่นคราบสกปรกก็ไม่เกาะติด แต่เนื่องจากผิวมีความมัน อีกทั้งยังมีการใช้เครื่องสำอางซึ่งช่วยส่งเสริมให้คราบฝุ่นละออง เขม่าควันที่อยู่ในบรรยากาศภายนอกเกาะผิวแน่นขึ้นไปอีกจึงจำเป็นต้องมีการชำระล้างออก เพื่อการมีผิวพรรณที่สดใสสะอาดของเรา และผลิตภัณฑ์เพื่อการทำความสะอาดผิวหนังส่วนใหญ่ก็เป็นเครื่องสำอางที่มีมูลค่าสูง มีการพัฒนาสูตรต่าง ๆ ให้ถูกใจผู้บริโภคอยู่ตลอดเวลา มีการโฆษณาลักษณะความแตกต่างของผลิตภัณฑ์ และนิยมใช้ผู้มีชื่อเสียง บุคลิกดี ผิวสวยเป็นผู้แนะนำสินค้าเพื่อแย่งชิงผู้บริโภค ฉะนั้นก่อนจะใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวเรามาดูกันก่อนดีกว่าว่าจะใช้ผลิตภัณฑ์อะไรจึงจะเหมาะสมกับสภาพผิว มีหลากหลายคำถามเกิดขึ้นเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่ใช้ทำความสะอาดผิว เช่น


       


สบู่ก้อนต่างกับสบู่เหลวหรือโฟมอย่างไร


สบู่ก้อนแบบดั้งเดิม (Soap) ทำจากไขสัตว์หรือไขพืช ทำปฏิกิริยากับด่าง จึงมีฤทธิ์ เป็นด่าง หลายคนอาจเกรงว่าสบู่ก้อนจะระคายผิว ในปัจจุบันสบู่ก้อนอาจได้จากสารสังเคราะห์ (syndet) ซึ่งจะมีความเป็นด่างน้อยลง เดิมจากความเป็นด่าง pH 10-11 เป็น pH 8-9 แต่ ราคาสบู่สังเคราะห์จะแพงกว่า จากการศึกษาพบว่าทั้ง 2 แบบทำให้เกิดความระคายเคืองเท่ากัน

สบู่เหลวเป็นสารสังเคราะห์ ลดแรงตึงผิว (surfactant) จะมี 2 แบบ คือ ลดแรงตึงผิวชนิดประจุลบ (anionic surfactant) เช่น sodium lauryl ether sulfate ซึ่งนิยมใช้ในสบู่เหลวและแชมพูเกือบทุกชนิด และชนิดประจุผสม (amphoteric herfactant) เช่น สาร betaine ซึ่งจะไม่ระคายเยื่อบุผสม อยู่ในสบู่เหลว หรือแชมพูเหลวสำหรับเด็ก สารจะมีฟองน้อยกว่าและราคาแพงกว่า สบู่เหลวมีความเป็นกรดด่างเกือบจะเท่ากับผิวหนัง คือประมาณ pH 5-6

การใช้สบู่ก้อนหรือสบู่เหลวจะชำระล้างคราบสกปรกได้เท่ากัน อาจระคายเคืองผิวได้เหมือนกัน แต่สบู่เหลวอาจทำให้ผิวแห้งเพราะสบู่สัมผัสคราบได้ดีกว่า จึงมีการพัฒนาเป็นโฟม (wash off foam) คือ สบู่เหลวผสมครีมเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้น ดังนั้นท่านสามารถเลือกใช้ตามความชอบได้ แต่ราคาสบู่ก้อนจะถูกกว่า



สบู่ไร้ฟองจะทำความสะอาดผิวได้ดีกว่าใช่หรือไม่


ฟองจากสบู่เป็นผลพลอยได้เมื่อเราใช้สบู่ ผู้ผลิตจึงพยายามผลิตสบู่ให้มีฟองมาก ๆ โดยเติมสารเพิ่มฟอง แต่ทฤษฎีฟองกลับขัดขวางการขจัดคราบสกปรก โดยหลักการชำระล้างควรล้างเฉพาะคราบสกปรกออก และเหลือน้ำมันหล่อเลี้ยงผิวให้พอเหมาะ ในสบู่ไร้ฟองเมื่อล้างจนหมดคงทำให้ผิวแห้งเกินไป ในหลายผลิต ภัณฑ์อาจเติมความชุ่มชื้น (moisturizer) ซึ่งก็ไม่เหมือนน้ำมันหล่อเลี้ยงผิวตามธรรมชาติ บางชนิดก่อให้เกิดการแพ้หรืออุดตันรูขุมขนได้ ดังนั้นสบู่มีฟองก็ดีเท่ากับสบู่ไร้ฟอง แถมราคาถูกกว่าด้วย



สบู่ที่มีความเป็นด่างจะระคายเคืองต่อผิวหนังใช่หรือไม่

สบู่ก้อนจะมีฤทธิ์เป็นด่าง ส่วนสบู่เหลวหรือโฟมจะมีความเป็นกรดด่างเท่ากับผิวหนัง ความจริงแล้วผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวหนังจะสัมผัสกับผิวหนังของเราในระยะสั้น ๆ เมื่อล้างออกแล้วความเป็นด่างของผิวก็จะกลับคืนสู่ภาวะปกติภายใน 30 นาที ฉะนั้นถ้าผิวหนังเราปกติ ไม่มีบาดแผล ความเป็นกรดด่างของสบู่ก็ไม่ทำให้เกิดการระคายเคืองได้ มีหลายคนชอบใช้สบู่ฤทธิ์กรด เพราะเข้าใจว่าจะช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้ ในผิวปกติจริง ๆ แล้วมีเชื้อแบคทีเรียซึ่งทำหน้าที่เป็นเกราะป้องกันเชื้ออื่น ๆ จึงไม่ควรใช้สบู่ฤทธิ์กรดเพราะมักจะระคายผิว



สบู่ซึ่งผสมสารฆ่าเชื้อจุลชีพจะช่วยให้ผิว สะอาดกว่าจริงหรือไม่

เนื่องจากผิวหนังมีเชื้อจุลชีพอาศัยอยู่หลายชนิดอย่างสมดุลทั้งเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา ในภาวะปกติเชื้อเหล่านี้จะทำหน้าที่ป้องกันเชื้อร้ายแบบอื่น ๆ และสร้างสารซึ่งมีฤทธิ์ต่อต้านเชื้อโรคที่มีอันตรายในสภาพผิวปกติการใช้สารฆ่าเชื้อจึงอาจทำให้ร่างกายเกิดการบกพร่องของความสมดุล สบู่ฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่นิยมใช้กันจะผสมไตรโคซาน (trichosan) อาจใช้ได้ในผิวที่เกิดผื่นคัน ซึ่งมีการเติบโตของเชื้อแบคทีเรียผิดปกติ แต่ควรใช้ในระยะสั้นตามคำแนะนำของแพทย์ ส่วนชนิดที่ผสมสารฆ่าเชื้อรา เช่น คีตาโคนาโซน (ketaconazone) และ ซินส์ ไพริไทออน (Zinc pyrithione) มักผสมอยู่ในแชมพูขจัดรังแค แต่ก็นำมาใช้รักษาสิวหรือเกลื้อนของผิวหนังได้



ควรเลือกใช้สบู่ผสมสารชุ่มชื้นเพื่อป้องกันผิวแห้งใช่หรือไม่

การใช้สบู่ชำระล้างทำความสะอาดผิวควรใช้ให้พอดี ถ้าหลังอาบน้ำเกิดผิวแห้งควรลดปริมาณการใช้สบู่ลง เลี่ยงการอาบน้ำอุ่นจัดหรืออาบน้ำนานเกินควร การใช้สบู่ผสมสารชุ่มชื้นต่าง ๆ อาจช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นได้ โดยลักษณะของสบู่ชนิดนี้ต้องเหลือความลื่นของสาร ซึ่งหลายคนไม่ชอบ ดังนั้นถ้าใช้สบู่ผสมสารเพิ่มความชุ่มชื้นแต่ก็พยายามที่จะล้างออกให้หมด ก็คงไม่มีประโยชน์ที่จะใช้ ทางที่ดีถ้าต้องการให้ผิวชุ่มชื้นไม่แห้ง เมื่อใช้สบู่ที่ผสมสารชุ่มชื้นแล้วก็ล้างออกให้พอดี เมื่อลูบผิวแล้วมีความลื่น ติดอยู่เล็กน้อยไม่ถึงกับขัดถูเสียจนผิวดังเอี๊ยด ถ้าเป็นอย่างนี้ใช้ไปก็ไม่มีประโยชน์จริง ๆ ด้วย



วิตามินหรือสารสกัดซึ่งผสมในสบู่จะช่วยถนอมและบำรุงผิวได้จริงหรือ

เป็นอีกคำถามที่พบอยู่เสมอ ๆ ขอบอกว่า การใช้สารบำรุงผิวจะต้องทาทิ้งไว้อยู่นานพอให้สารซึมผ่านเข้าไปในผิวหนัง แต่ถ้าใช้เพียงชั่วครู่ และต้องล้างออกจึงไม่มีประโยชน์ ถ้าต้องการให้สารสกัดหรือวิตามินซึมผ่านเข้าไปในผิว ควรทาสารสกัดหรือวิตามินหลังการอาบน้ำแต่ก็ยังไม่มีข้อยืนยันว่าสารสกัดหรือวิตามินจะช่วยบำรุงผิวได้จริง

ปัจจุบันการทำความสะอาดผิวกายเพียงเพื่อชำระล้างคราบสกปรกออกจากร่างกายกลายเป็นธุรกิจไปเสียแล้ว เพราะมีการช่วงชิงตำแหน่งผู้นำทางการตลาดกันทุกรูปแบบ เวลาเราเดินในห้างสรรพสินค้าจะเห็นมีผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดมากมายวางเรียงรายให้เลือกซื้อ มีหลายรูปแบบ หลายราคา แต่ถ้าผู้บริโภคมีความเข้าใจในธรรมชาติของผิวหนังว่าผิวหนังของท่านต้องใช้ผลิตภัณฑ์ใดถึงจะทำให้ได้รับประโยชน์สูงสุด ท่านก็จะสามารถเลือกซื้อสินค้าได้ถูกต้องตามความต้องการและสมราคาอีกด้วย.

ที่มาของข้อมูล : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์
นายแพทย์สุรพงศ์ อำพันวงษ์

วันพุธที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ควรเลือกสบู่อย่างไรให้เหมาะกับผิวของเรา?

ควรเลือกสบู่อย่างไรให้เหมาะกับผิวของเรา?


คงเป็นอีกหนึ่งคำถามที่คุณมักถามตัวเองบ่อยครั้ง เมื่อต้องการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวกายของคุณ
ในปัจจุบันผลิตภัณฑ์สบู่มีมากมายหลายชนิด และมีรูปแบบการใช้งานจำเพาะเจาะจงลงไปในบางส่วนของผิวกาย ซึ่งมักมีกรรมวิธีการผลิตที่แตกต่างกันออกไป เราลองมาสำรวจดูจากคำถาม 3-4 ข้อดังต่อไปนี้ เผื่อจะเป็นแนวทางในการเลือกซื้อสบู่ได้เหมาะสมกับสภาพผิวของเราต่อไป


“สบู่ที่มีระดับพีเอช สูงจะเป็นอันตรายหรือไม่” คงต้องทราบก่อนว่าค่าพีเอช (pH) เป็นหน่วยวัดค่าความเป็นกรดด่าง มีช่วงตั้งแต่ 0-14 ถ้าความเป็นกรดสูงมาก ค่าพีเอชจะเท่ากับศูนย์ ส่วนค่าความเป็นด่างจะมีตัวเลขสูงขึ้น ระดับพีเอชของผิวคนเรานั้นมีปัจจัยหลักขึ้นอยู่กับปัญหาผิวหนัง ค่าพีเอช ผิวหนังคนเราค่อนข้างเป็นกรดอยู่ ระหว่าง 4.5-5.5 อย่างไรก็ตาม อาจมีความเปลี่ยนแปลงในระดับพีเอช เมื่อมีการติดเชื้อ สบู่ที่ผลิตจำหน่ายโดยทั่วไปค่าพีเอชอยู่ระหว่าง 9-11 จะเพิ่มระดับพีเอชที่ผิวหนังอาจเป็นอันตรายได้หากสูงมากเกินไป

“สบู่ชนิดหนึ่งต่างกับชนิดอื่นอย่างไร” ไม่ว่าจะมีสบู่มากมายหลายยี่ห้อเต็มท้องตลาด แต่สิ่งที่เหมือนกันคือ ทุกยี่ห้อมีวัตถุประสงค์หลักในการทำความสะอาดผิวให้ปลอดจากเชื้อโรค ส่วนประกอบหลักคล้ายกันคือมีไขมันและสารพื้นฐานที่นำไปดัดแปลงเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ได้มากมาย เพียงแต่ว่าบางยี่ห้อเติมสารให้ความชุ่มชื้นสำหรับผิวแห้ง บางยี่ห้อก็เพิ่มกลิ่นหรือสารอื่น

“แล้วเราจะเลือกสบู่ให้เหมาะกับผิวได้อย่างไร” สำหรับคนผิวแห้งจะไม่ค่อยมีน้ำมันตามธรรมชาติออกมาตามผิวหนัง ควรเลือกสบู่ที่มีไขมันสูง หรือเป็นครีม สำหรับสบู่ธรรมชาติที่มีส่วนผสมของ ว่านหางจระเข้ อะโวคาโด หรือน้ำมันจากพืช ก็จัดว่าเป็นสบู่ที่ดีที่สุดสำหรับ คนผิวแห้งเช่นกัน ในขณะที่คนผิวมัน ควรเลือกใช้สบู่ต้านเชื้อโรค หรือที่มี ส่วนผสมของลาเวนเดอร์ คาโมไมล์ และไทม์

“สบู่ยาจะดีกับผิวมั้ย” บางคนอาจสงสัยว่าแล้วสบู่ยาล่ะ เรื่องของ สบู่ยานั้นต้องเข้าใจว่ามันออกแบบขึ้นมาเป็นพิเศษเพื่อป้องกันและรักษา การติดเชื้อของผิวหนัง สบู่เหล่านี้จึงมีส่วนประกอบของสารหรือตัวยาระงับเชื้อ จะได้ทำความสะอาด ป้องกัน การติดเชื้อและระงับกลิ่นตัวได้ด้วย สบู่ยาจะมีส่วนประกอบของซัลเฟอร์ หรือกรดซาลิไซลิค โดยทั่วไปแล้วจะแนะนำให้ใช้เพื่อระงับการติดเชื้อรา นอกจากนี้ ยังมีสบู่ที่ผสมวิตามินอี น้ำมันฮะโฮบะ ก็จะเป็นประโยชน์กับคนที่เป็นโรคผิวหนังแห้งชนิดต่างๆ เช่น โรคผิวหนังเอคซีมา โรคเรื้อนกวาง เป็นต้น





ขอบคุณข้อมูลจาก เนเวอร์เอจ